skip to Main Content

หลักการและเหตุผล

          แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี พ.ศ. 2558 – 2579 กระทรวงพลังงาน ได้กำหนดการใช้เกณฑ์มาตรฐานอาคาร ในการผลักดันให้เกิดการผลักดันให้เกิดการบังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และหลักเกณฑ์ วิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 (มาตรฐาน BEC) กับอาคารสร้างใหม่ที่มีขนาดพื้นที่ใช้สอยมากกว่า 2,000 ตารางเมตร ซึ่งสถานภาพปัจจุบันยังไม่สามารถบังคับใช้ได้ เนื่องด้วยยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมอาคาร ซึ่งในระหว่างการรอให้เป็นกฎหมายบังคับใช้ พพ. ได้ดำเนินการนำร่องบังคับใช้กับอาคารก่อสร้างใหม่ของภาครัฐ ผ่านมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 โดยให้หน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง ให้ความร่วมมือในการออกแบบอาคารที่ก่อสร้างใหม่ให้ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานสำนักงบประมาณจึงจะพิจารณางบประมาณก่อสร้างให้โดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 และส่งเสริมให้ภาคเอกชนโดยร่วมมือกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ให้นำเป็นส่วนหนึ่งของรายงาน EIA ในหัวข้อการอนุรักษ์พลังงานด้วยความสมัครใจของผู้ประกอบการ และกฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ข้อ 56 ให้สิทธิประโยชน์ที่ดินเพิ่มขึ้นแก่แบบอาคารที่ผ่านการตรวจประเมิณในระบบกรอบอาคารและหลังคา ผ่านทางศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

          มาตรฐาน BEC ถูกกำหนดให้เป็นนโยบายปฏิรูปเร่งด่วนของรัฐบาลโดยคณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (กขร.) ได้เสนอรายงานการอนุรักษ์พลังงาน โดยใช้ข้อบัญญัติเกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงาน (Building Energy Dode : BEC) ต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีข้อสั่งการ ได้แก่ ระยะแรกให้บังคับอาคารขนาดใหญ่พื้นที่มากกว่า 10,000 ตารางเมตรก่อน และอาคาร 9 ประเภท ขนาดไม่ต่ำกว่า 2,000 ตารางเมตรเปนลำดับถัดไป การช่วยเหลือเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ, การส่งเสริมให้ใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับอาคารที่ต้องการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ และให้เผยแพร่ให้เกิดการับรู้อย่างกว้างขวาง

          ดังนั้น พพ. จึงมีหน้าที่ในการประสานงานผลักดันให้เกิดการบังคับใช้มาตรฐาน BEC ให้เป็นหนึ่งในข้อบังคับใช้ในการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร และส่งเสริมการบังคับใช้ ตรวจสอบ รับรอง ติดตามผล การดำเนินการตามมาตรฐาน BEC พร้อมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์ของอาคารด้วยการให้ฉลากแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน การพัฒนาให้มีการขึ้นทะเบียนผู้คำนวณค่าการอนุรักษ์พลังงาน การช่วยเหลือเงินทุนดอกเบี้บต่ำแก่อาคารที่ออกแบบและก่อสร้างเพื่ออนุรักษ์พลังงาน การส่งเสริมให้ใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น ฉลากประหยัดพลังงานเบอร์ 5 และสนับสนุนการก่อสร้างอาคารสร้างใหม่ให้ได้ระดับการประเมิณมาตรฐานขั้นสูงในระดับสากล เช่น มาตรฐาน LEED หรือมาตรฐาน TREES ของสถาบันอาคารเขียวไทย ทั้งนี้หากว่ามีการดำเนินการทั้งหมดเป็นไปตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี จะทำให้เกิดผลประหยัดในปี พ.ศ. 2579 ไม่น้อยกว่า 1,166 ktoe เป็นไปตามแผนอนุรักษ์พลังงานที่กำหนดไว้ได้

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ของกระทรวงพลังงาน และนโยบายรัฐบาล
  2. เพื่อให้บริการตรวจประเมิณ และรับรองแบบอาคารก่อสร้างใหม่ของภาครัฐตามมติคณะรัฐมนตรี และอาคารภาคเอกชน ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) และที่สนใจ
  3. เพื่อประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน ในการส่งเสริมการออกแบบและก่อสร้างอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
  4. เพื่อผลักดัน ส่งเสริม และให้ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องการออกแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน
  5. เพื่อสร้างแนวทางในการตรวจสอบ ติดตามผล และขึ้นทะเบียนผู้คำนวณค่าการอนุรักษ์พลังงาน

คู่มือเผยแพร่ อาคารต้นแบบประหยัดพลังงานภาครัฐ

คู่มือแนวทางการออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน

เว็ปไซต์โครงการ

 

Back To Top