หลักการและเหตุผล
แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี พ.ศ. 2558 -2579 กระทรวงพลังงาน ได้กำหนดการใช่เกณฑ์มาตรฐานอาคาร ในการผลักดันให้เกิดการบังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และหลักเกณฑ์ วิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 (มาตรฐาน BEC) กับอาคารสร้างใหม่ที่มีขนาดพื้นที่ใช้สอย มากกว่า 2,000 ตารางเมตร ตามแนวทางการดำเนินงานนี้จะเริ่มบังคับใช้กับอาคารที่ได้ก่อสร้างใหม่ในอนาคตให้เริ่มตะหนักถึงการออกแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานตั้งแต่ก่อนดำเนินการก่อสร้าง
ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพอาคารที่ดียิ่งขึ้นในอนาคตต่อไป แต่ถ้าลองมองย้อนกลับมาถึงสถานการณ์ปัจจุบันกลับพบว่า อาคารส่วนใหญ่ในประเทสไทยกระจุกตัวเฉพาะบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (อัตราความหนาแน่นของจำนวนอาคารต่อพื้นที่จังหวัดสูงมาก)
โดยองค์ประกอบของอาคารส่วนใหญ่พบว่ามีจำนวนอาคารเก่า (อาคารที่เปิดใช้งานมาแล้ว) มากกว่าอาคารที่ก่อสร้างใหม่เป็นจำนวนมาก ซึ่งอาคารเก่าเหล่านี้ยังไม่มีการบริหารจัดการอนุรักษ์พลังงานที่ดีตามมาตรฐาน BEC และไม่ได้ถูกควบคุมภายใต้การบังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และหลักเกณฑ์ วิธีการมนกสนออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 (มาตรฐาน BEC)
ดังนั้นเพื่อมุ่งเน้นสนับสนุนให้เกิดการบังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และหลักเกณฑ์ วิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 (มาตรฐาน BEC) อย่าแพร่หลายในอนาคตอันใกล้ จึงควรมีกระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพอาคารเก่า (อาคารที่เปิดใช้งานแล้ว) ควบคู่กับการควบคุมอาคารก่อสร้างใหม่ โดยสนับสนุนให้อาคารเก่าเหล่านี้ “ ติดฉลากแสดงข้อมูลการใช้พลังงานสำหรับอาคาร” เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้อาคารเก่าเล็งเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการอนุรักษ์พลังงานภายในอาคารอย่างจริงจัง บนแนวทางปฏิบัติภายใต้ข้อกำหนด/ควบคุมที่คล้ายคลึงกัน และสามารถเผยแพร่ข้อมูลการใช้พลังงานและการบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสู่สาธารณะชนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานอาคาร โดยหลักเกณฑ์การติดฉลากแสดงข้อมูลการใช้พลังงานอาคารจะอ้างอิงจากข้อกำหนด กฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และหลักเกณฑ์ วิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 (มาตรฐาน BEC) พร้อมทั้งพัฒนาสร้างเป็นมาตรฐานฉลากแสดงข้อมูลการใช้พลังงานอาคาร สำหรับประเทศไทย ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้อาคารเก่า และอาคารใหม่จะพัฒนาบนพื้นฐานมาตรฐานเดียวกันภายใต้กฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และหลักเกณฑ์ วิธีการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 (มาตรฐาน BEC) สามารถแสดงข้อมูลการใช้พลังงานสำหรับอาคารสู่สาธารณะชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะเป็นการกระตุ้นต่อผู้ใช้งานอาคารให้เริ่มรับทราบและเลือกให้ความสำคัญกับอาคาร ที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการอนุรักษ์พลังงานมากกว่า อาคารที่ไม่ได้มีการบริหารจัดการอนุรักษ์พลังงานใดๆ ส่งผลให้เกิดแรงผลักดันทางอ้อม กระตุ้นให้อาคารพัฒนาตนเองด้านอนุรักษ์พลังงานได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องในอนาคต
จากกระบวนการพัฒนาที่เริ่มมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นทั้งในการพัฒนา อาคารเก่าและอาคารที่จะก่อสร้างใหม่ ภายใต้ข้อกำหนด กฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และหลักเกณฑ์ วิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 (มาตรฐาน BEC) เดียวดันทั่วประเทศไทยแล้ว จากนั้นจึงค่อยพัฒนาข้อกำหนดต่างๆ ให้ชัดเจนและมีมาตรฐานในการควบคุมที่มากยิ่งขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งผู้ใช้งานอาคาร (User) เมตระหนักถึงความสำคัญ และเลือกใช้งานอาคารที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการอนุรักษ์พลังงาน อย่างเป็นระบบภายในอาคารมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเมื่อองค์ประกอบของสิ่งเหล่านี้ถูกขับเคลื่อนอย่างชัดเจน และสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องแล้ว การที่จะพัฒนาก้าวไปสู่อาคารประสิทธิภาพสูง Zero Energy Building (ZEB) ที่มีการใช้พลังงานต่ำและสามารถผลิตพลังงานใช้เองได้นั้น จะไม่เป็นเพียงแค่หลักการเท่านั้น แต่สามารถทำให้เกิดได้จริงในอนาคตแน่นอน ภายใต้การพัฒนาข้อกำหนดและการใช้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องในอนาคตอย่างจริงจัง
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาแนวทาง หลักเกณฑ์ และรายละเอียดการติดฉลากแสดงข้อมูลการใช้พลังงานของอาคารธุรกิจ ให้มีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับมากขึ้น
- เพื่อพัฒนาคู่มือและเครื่องมือ สำหรับการจัดเตรียมข้อมูล และวิเคราะห์การใช้พลังงาน สำหรับแสดงผลในฉลากแสดงข้อมูลการใช้พลังงาน
- เพื่อขยายผลการดำเนินงานและศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มอาคารตัวอย่างเพิ่มเติมจากโครงการนำร่องการติดฉลากแสดงข้อมูลการใช้พลังงานสำหรับอาคารธุรกิจที่ได้ดำเนินงานไปแล้วเสร็จ และยังมีอาคารที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก
- เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการบันทึกข้อมูล สำหรับประเมิณผลติดฉลากแสดงข้อมูลการใช้พลังงานของอาคารธุรกิจ ที่อาคารธุรกิจสามารถทำได้ง่าและทำได้ด้วยตนเองในอนาคต
- เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการติดฉลากประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับอาคารธุรกิจที่มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น และแนวทางการพัฒนาอาคารธุรกิจสู่ Zero Energy Building ; ZEB