skip to Main Content

โครงการศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการพลังงานในระบบทำน้ำเย็นทั้งระบบตามนโยบาย Thailand 4.0

- ผังขั้นตอนการดำเนินงาน - ประกาศการรับสมัคร - รายละเอียดการดำเนินโครงการ - ใบสมัคร

โครงการส่งเสริมการดำเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงานด้วยกลไกการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานตามกฏหมายที่ปรึกษาฯ

ที่มาและวัตถุประสงค์โครงการ   ที่มาของโครงการ ตามที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ.2552 และประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ.2552 ได้กำหนดให้โรงงานควบคุมและอาคารควบคุมต้องดำเนินการจัดการพลังงานทุกรอบปี และจัดส่งผลการตรวจสอบและรับรองการ จัดการพลังงาน ให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ทั้งนี้รายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมต้องได้รับการตรวจสอบโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็น ผู้ตรวจสอบกับ พพ. โดยในปี…

โครงการสนับสนุนปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการพลังงานในระบบอากาศอัดทั้งระบบด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ

หลักการและเหตุผล/ที่มาและสภาพปัญหา/ความจำเป็น การดำเนินการจัดการพลังงานและการอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้เกิดผลสัมฤธิ์อย่างยั่งยืนตามแนวนโยบาย Energy 4.0 จำเป็นต้องมีความสอดคล้องกับแผนการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2779 (EEP2015) ของกระทรวงพลังงาน ซึ่งมีเป้าหมายในการลดความเข้มการใช้พลังงานลงเป็นร้อยละ 30 ภายในปี พ.ศ. 2579 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2553 และตามเป้าหมาย Energy 4.0…

โครงการส่งเสริมการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานความร้อนด้วยวิธีอุดหนุนผลประหยัด (DSM)

  หลักการและเหตุผล ตามนโยบายด้านพลังงานของประเทศไทย ได้กำหนดกลยุทธ์ด้านอนุรักษ์พลังงานเพื่อกำกับดูแล และส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด ให้กับภาครัฐและเอกชน โดยเป้าหมายตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งมีเป้าหมายชัดเจนในการอนุรักษ์พลังงานด้านความร้อน ปัจจุบันพบว่าโรงงานควบคุม/อาคารควบคุม หลายแห่งมีศักยภาพในการอนุรักษ์พลังงานในระบบความร้อนในเกณฑ์ค่อนข้างสูง จากการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายจำแนกตามสาขาเศรษฐกิจ ในปี 2558 พบว่ามีการใช้พลังงานภาคอุตสาหกรรมถึง 27,803 ตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ หรือคิดเป็นร้อยละ 35.7 ของการใช้พลังงานในประเทศ ซึ่งจากข้อมูลรายงานการจัดการพลังงานของ…

โครงการส่งเสริมการใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติและระบบ Internet of Thing ร่วมกับอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน

  บทนำ พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2551 เป็นผลให้โรงงานควบคุม/อาคารควบคุม ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายให้ถูกต้องครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ สำหรับการดำเนินงานอนุรักษ์พลังงานของโรงงานควบคุม/อาคารควบคุมที่ผ่านนั้น…

โครงการสนับสนุนการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยน ปรับปรุง เครื่องจักร และอุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานในระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานควบคุม

หลักการและเหตุผล/ที่มาและสภาพปัญหา/ความจำเป็น จากผลการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จในปีงบประมาณ 2559 ของโครงการศึกษาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานในระบบน้ำเสียของโรงงานควบคุม มีข้อมูลที่สำคัญดังนี้ ปริมาณน้ำเสียเฉลี่ยต่อโรงงาน 912,500 ลบ.เมตร/ปี และการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบบำบัดน้ำเสียเฉลี่ยต่อโรงงาน 1,267,445 kWh/ปี พบว่ามีสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบบำบัดน้ำเสียต่อการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมของโรงงานเฉลี่ย 5.7% โดยมีสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อปริมาตรน้ำเสียที่บำบัด (SEC) 2 kWh/ลบ.เมตร ในระบบบำบัดน้ำเสียอุปกรณ์เติมอากาศและเครื่องสูบน้ำใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดเป็น 70% และ…

โครงการสนับสนุนการลงทุนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในโรงพยาบาลของรัฐ (Matching Fund) ระยะที่ 3

  หลักการและเหตุผล ­            ตามนโยบายด้านพลังงานของประเทศ ได้กำหนดกลยุทธ์ด้านการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งมีมาตรการทั้งทางด้านบริหาร ด้านสังคม และด้านกฎหมาย เพื่อกำกับดูแล และส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด ให้กับภาครัฐและภาคเอกชน โดยเป้าหมายตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีนั้น แผน EEDP 2015 (พ.ศ.2558-2579) ยุทธศาสตร์การเพิ่มการพึ่งพาตนเองด้านเทคโนโลยี และเสริมสร้างธุรกิจผลิตสินค้าที่มีประสิทธิภาพพลังงานสูง และยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานทุกภาคเศรษฐกิจให้ทัดเทียมสากล…

Back To Top