skip to Main Content

หลักการและเหตุผล/ที่มาและสภาพปัญหา/ความจำเป็น

จากผลการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จในปีงบประมาณ 2559 ของโครงการศึกษาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานในระบบน้ำเสียของโรงงานควบคุม มีข้อมูลที่สำคัญดังนี้ ปริมาณน้ำเสียเฉลี่ยต่อโรงงาน 912,500 ลบ.เมตร/ปี และการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบบำบัดน้ำเสียเฉลี่ยต่อโรงงาน 1,267,445 kWh/ปี พบว่ามีสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบบำบัดน้ำเสียต่อการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมของโรงงานเฉลี่ย 5.7% โดยมีสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อปริมาตรน้ำเสียที่บำบัด (SEC) 2 kWh/ลบ.เมตร ในระบบบำบัดน้ำเสียอุปกรณ์เติมอากาศและเครื่องสูบน้ำใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดเป็น 70% และ 25% ของการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบบำบัดน้ำเสียทั้งหมด ตามลำดับ มาตรการ house keeping, process improvement และ machine change สามารถลดสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อต่อปริมาตรน้ำเสียลง 0.26 – 0.36 kWh/ลบ.เมตร ซึ่งประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ให้กับโรงงาน 5 แห่ง ได้แก่ อุปกรณ์ปรับลดความเร็วรอบมอเตอร์เติมอากาศ และอุปกรณ์เติมอากาศแบบสกรู สามารถประหยัดพลังงานได้จริงถึง 30-40% และมีระยะเวลาคืนทุน 0.35-3 ปี หากนำผลการศึกษาเชิงลึกและมาตรการเหล่านี้ไปใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย โดยพิจารณาในภาพรวมของโรงงานควบคุมกลุ่มเป้าหมายจำนวน 1,500 โรงงาน อย่างน้อย 50% ของโรงงานควบคุมทั้งหมด จำทำให้เกิดการประหยัดพลังงานประมาณเป็น 180,000,000 – 250,000,000 kWh/ปี หรือ 15.6 – 21.5 ktoe/ปี ซึ่งการสนับสนุนการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยน ปรับปรุงเครื่องจักร และอุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานในระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานควบคุม ได้แก่ การติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ (VSD) ของระบบเติมอากาศ และของระบบสูบน้ำ และของระบบสูบตะกอน หรือการเปลี่ยนชนิดเครื่องเติมอากาศเป็นระบบ Screw Blower หรือแบบ Turbine Aerator

ดังนั้นโครงการสนับสนุนการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยน ปรับปรุงเครื่องจักร และอุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานในระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานควบคุมนี้ เป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและกระตุ้นโรงงานควบคุมให้มีการตัดสินใจลงทุนเปลี่ยนอุปกรณ์ และเกิดการบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และลดความต้องการใช้พลังงานลงได้ โดยมีเป้าหมายโรงงานควบคุมทุกกลุ่มที่มีระบบบำบัดน้ำเสียจำนวน 100 แห่ง หรือจนกว่าเงินสนับสนุนโครงการจะหมด โดยเป็นการสนับสนุนการเปลี่ยนอุปกรณ์ในระบบบำบัดน้ำเสียที่มีระยะเวลาคืนทุนไม่เกิน 7 ปี เป็นจำนวนเงินไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาอุปกรณ์และค่าติดตั้งโดยทุกมาตรการรวมกันแล้ว จะได้รับเงินสนับสนุนไม่เกิน 500,000 ต่อโรงงานควบคุม

วัตุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมการใช้เครื่องจักร และอุปกรณ์เทคโลยีอนุรักษ์พลังงานในระบบบำบัดน้ำเสีย
  2. เพื่อสนับสนุนการลงทุนปรับเปลี่ยน ปรับปรุงเครื่องจักร และอุปกรณ์อนุรักษ์พลังงานในระบบบำบัดน้ำเสีย
  3. เพื่อให้เกิดการพิสูจน์ทราบผลประหยัดและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการปรับเปลี่ยน ปรับปรุงเครื่องจักร และอุปกรณ์อนุรักษ์พลังงานในระบบบำบัดน้ำเสีย

 

 
เพิ่มเติม
– ตัวอย่างหนังสือนำส่ง (Word, PDF)
– ตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจ (Word, PDF)
– ตัวอย่างหนังสือแจ้งรับเงินสนับสนุน (Word, PDF)
– หลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการสมัครขอรับเงินสนับสนุน (PDF)
Back To Top